สรุปโทรทัศน์ครู
- โทรทัศน์ครู
สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด
- วิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อความรู้
- ชื่อผู้วิจัย คมขวัญ อ่อมบึงพร้าว
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชายและหญิง อายุ 5- 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบกลุ่มมาจำนวน 15 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบศิลปธสร้างสสรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้และแบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดสอบแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิสิ t-test Dependent Sample
ผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมาขึ้น พบว่าการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและจำแนกรายทัักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
อ้างอิง http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Komkhwan_O.pdf
สรุปบทความ
- บทความ เรื่อง ทำอย่างไรให้ผู้เรียนใส่ใจคณิตศาสตร์
จากบทความที่อ่านสรุปได้ว่า เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากๆ เช่น การผลิตสื่อ การทำแบบฝึกหัด การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีส่วนช่วยกันภายในกลุ่มเพื่อน เพราะเมื่อครูช่วยให้นักเรียนพัฒนาการเรียนของตนและตระหนักถึงความเกี่ยวข้องของทักษะและกระบวนการต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในชีวิตจริง นักเรียนก็จะกล้าทำและร่วมกันรับผิดชอบในการเรียนมากขึ้น การมีส่วนร่วมทำให้นี้ช่วยให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจ การทำงานเป็นกลุ่มย่อยหรือทำงานเดี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยให้นักเรียนได้มีส่วนเป็นเจ้าของในการเรียนนั้นๆ การมีส่วนร่วมจะช่วยลดความกลัวในเรื่องความผิดพลาดและช่วยให้นักเรียนกล้าที่จะตอบคำถาม ครูจะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตนเอวให้ดีขึ้น การเรียนคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่เพียงแค่ผู้สอนต้องสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนเท่านั้น แต่เป็นการสร้างเจตคติที่ดีให้กับผู้เรียนต้องทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่า การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ยาก ไม่อยากที่จะเรียน แต่ต้องทำให้ผู้เรียนรู้สึกอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนรู้ว่สในชีวิตประจำวันนั้นก็เป็นคณิตศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น