ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว บงกช เพ่งหารัพย์ คะ

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วัน จันทร์ ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2559





บรรยากาศในห้องเรียน

   วันนี้เป็นวันที่ทีการเรียนการสอนชดเชย  วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้พวกเราได้ทำคือ การเขียนแผน เป็นการเขียนแผนที่ครบองค์ประกอบ ประกอบด้วย ดังนี้
  1. สาระที่ควรเรียนรู้
  2. เนื้อหา
  3. แนวคิด
  4. ประสบการณ์สำคัญ
โดยในการเขียนแผน ของกลุ่มเรา ในเรื่องของ ยานพาหนะ 
  •  สาระที่ควรเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัว ( ยานพาหนะ )
  • แนวคิด คือ ยานพาหนะเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมีหลายหลายลักษณะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน มีการใช้เชิงเพลิงและวิธีการที่ดูเเลรักษาต่างกันออกไป มีทั้งประโยชน์และข้อควรระวัง
  • ประสบการณ์สำคัญ เช่น ด้านร่างกาย กล้ามเนื้อต่างๆทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการใช้สายตาให้ประสานสัมพัธ์กับมือ
  • ตัวชี้วัด น้ำหนักส่วนสูง
  • กรอบพัฒนาครู มีไว้ จัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม กับเป็นเกณฑ์การประเมิน
  • บรูณาการทักษะรายวิชา ในด้านของ ภาษา การพูด การอ่านและการเขียน
ในเรื่องของศิลปะกลุ่มของเราได้คิดคิลปะสร้างสรรค์มา 3 กิจกรรม 1 การแต่งนิทานร่วมกับครู 2 ประดิษฐ์ยานพาหนะจากวัสดุเหลือใช้  3 ตัดภาพยานพาหะที่เห็นจากโบว์ชัวร์มาแปะเเยกตามประเภท

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการออกแบบ
  • ทักษะการเขียนแผน
  • ทักษะการวิเคราะห์
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
   เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้มาเขียนแผนการสอนให้กับเด็กได้ถูกวิธีและเลือกกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์

เทคนิคการสอนอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการพูดอธิบายให้เราได้เห็นภาพและอธิบายรายละเอียดได้อย่างเข้าใจ อาจารย์มีการแนะนำกิจกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนของเรา

การประเมิน
ประเมินตนเอง มีการร่วมมีกับสมาชิกภายในกลุ่มเป็นอย่างดีและช่วยเพื่อนทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆทุกกลุ่มมีความตั้งใจในการเรียนและให้ความร่วมมือกับงานกลุ่มของตัวเอง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดีมาก สามารถพูดอธิบายให้นัศึกษาเข้าใจได้ มีการแนะนำที่ดีให้กับนักศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

** ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย **
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วัน พุธ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2559





บรรกาศและสาระในการเรียน

  วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการนำเสนองานวิจัยของ นายอารักษ์ ศักดิ์กุล

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็น
ประโยชน์และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย 
ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
        เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการ
จัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่

กลุ่มตัวอย่าง   
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  
สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํา
กิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตาม
ความสามารถ และความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ 
จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝน
เรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดย
ยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด 
ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  

จุดประสงค
       1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
       2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
       3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
       4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
       5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
       6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา

     กิจกรรมการเรียนรู  

ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
      1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  
          สีขาว  นิยมทานคูกับแยม    
      2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
          2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
          2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
          2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
          2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  

ขั้นสอน   
      1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
      2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  
          เกล็ด  ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิด
          และจินตนาการของตนเอง   
      3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
      4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย

ขั้นสรุป   
      1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
          1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
          1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
          1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
          1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ 
                เหมือนกันอยางไรบาง  

สื่อการเรียน  
       1. ขนมปงแผนรูป  
       2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
       3. เกล็ดช็อกโกแลต  
       4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
       5. ผาพลาสติกปูโตะ  
       6. ถาดสําหรับใสขนม  

การประเมินผล  
       1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
       2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   


จากกนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสนอของแต่ละกลุ่มโดยกลุ่มเราเป็นกลุ่มแรก 
กลุ่มเราได้นำเสนอในเรื่องของ ประเภทของยานพาหนะโดยเราแบ่ง ออกเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ โดยเราทำเกมการศึกษาขึ้นมาให้เด็กๆได้นำรูปยานพาหนะมาติดตามเสน้ทางการใช้

กลุ่มที่ 2 เรื่องของเล่นของใช้ โดยจะมีการนำเด็กโดยการสอนร้องเพลงเก็บของและนำไปเชื่อกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยเล่นของเล่นว่าเด็กๆเล่นเสร็จแล้วเด็กๆนำของเล่นกลับเข้าทีหรือไม่ จากนั้นครูก็จะนำของเล่นกับของใช้มาให้เด็กได้นับจำนวนจากนั้นก็จะให้เด็กนำของเเต่ล่ะชิ้นมาวางว่าสิ่งที่ตนเองได้นั้นเป็นของเล่นหรือของใช้

กลุ่มที่ 3 เรื่องกล้วย จะสอนเกี่ยวกับชนิดของกล้วย ในวันนี้ที่เพื่อนนำมาสอนนั้นเป็นกล้วยสองชิดที่ยกมาสอนในคาบ คือ กล้วยหอมกับกล้วยน้ำว้า โดยขั้นนำของเพื่อนจะเริ่มด้วยการร้องเพลงกล้วย จากนั้นก็นำกล้วยหอมกับกล้วยน้ำว้า ให้เด็กดูถึงลักษณะของสีและรูปทรงที่ต่างกันจากนั้นก็มีการหั่นครึ่งให้เด็กดู โดยหั่นให้ดูในหลายๆแบบเพื่อให้เด็กได้มองเห็นถึงลักษณะได้ชัดเจน

กลุ่มที่ 4 เรื่องผลไม้ เพื่อนก็มีการยกตัวอย่างของผลไม้มา สองชนิดเช่นเดียวกัน คือ มะยงชิดกับองุ่น
โดยขั้นแรกก็จะเป็นการถามคำถามกับเด็กว่าเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง จากนั้นก็จะให้เด็กๆสังเกตผลไม้ที่ครูนำมาโดย มองลักษณะ สี เเละให้ดมกลิน จากนั้นก็ให้เด็กๆชิมรสว่ารสของผลไม้ที่นำมานั้นเป็นรสอะไรเช่น หวาน เปรี้ยว เป็นต้น


  • หลังจากที่พวกเรานำเสนอกันเสร็จ อาจารย์ก็ให้พวกเรานำเสนอแผนการสอนในของวัน พุธ ในหัวข้อการดูแลรักษา โดยกลุ่มของเรา ก็ได้เริ่มช่วยกันคิดแผนการสอนโดยขั้นนำของเรา นำด้วยการร้องเพลง โดยกลุ่มของเรา เเต่งเพลงกัน ในเรื่องของการดูเเลรักษายานพาหนะ โดยเพลงของกลุ่มที่เรา แต่งมีดังนี้
มาดูเเลรักษา ยานพาหนะกันเถอะ
มาดูแลรักษา ยานพาหนะกันดถอะ
มาเถอะ ล้างรถ ล้างเรือ ล้างเครื่องบิน


ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการเขียน
  • ทักษะการคิดทักษะการดัดแปลงเพลง
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • ทักษะการสอน
เทคนิคการสอนของอาจารย์
    
 อาจารย์มีการให้ความคิดเห็นที่ดีกับนักศึกษาว่าการสอนแต่ละกลุ่มควรนำสิ่งที่ได้เตรียมมานั้นไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์อย่างได้ มีการยกตัวอย่างที่ดีให้กับทุกกลุ่ม

การประเมิน
ประเมินตนเอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและเป็นพูดฟังที่ดีในขณะที่เพื่อนกำลังสอน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนได้เกือบดีอาจมีข้อที่ต้องไปปรับปรุงบ้าง 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการให้คำแนะนำที่ดีเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษานำไปปรับใช้กับตรงจุดที่กลุ่มของตนเองยังบกพร่องอยู่






วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วัน พุธ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2559



บรรยากาศและสาระการเรียน

   วันนี้เริ่มต้นการเรียนโดยให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนองานของตัวเอง

คนแรก นางสาว สุดรัตน์ อาจจุฬา นำเสนอบทความ
   เรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
         การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่คำตอบของคำถามข้างต้น
นั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง... 
        ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่า
ทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทาง
คณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียน
คณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม 
เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่
 เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข 
ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่
เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
        คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ 
วเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
       -การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
       -การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
       - การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
       - การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
       - การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ

       เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส 
ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์
กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่
อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร 
ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน
          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต(Observation)
          คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของ
หรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ 
โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
 2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
          คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์
ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน 
ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถาม
เมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้
เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจ
ได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
         คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป 
บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่ง
มีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล
 คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ
เฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ
ต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
         คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ
หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของ
มากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปใน
ลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิดวามเข้าใจอย่างถ่องแท้
แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
5. ทักษะการวัด(Measurement)
         เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว 
เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความ
สัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาว
ของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
6. ทักษะการนับ(Counting)
         แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาด
เท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  
การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบ
การนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมาย
ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน 
นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ 
เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับ
จำนวนอย่างมีความหมาย
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
         เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น 
การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็ก
พูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรง
หรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐาน
แล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
         ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
1. ทักษะในการจัดหมู่
2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)


  • คนที่สอง นางสาว ชื่นภา เพิ่มพูน นำเสนอบทความ

เรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต
         “จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้น
รัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกัน
ที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน29)
         จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ 
และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 
ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่ง
ที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม 
หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ 
คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบ
และขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ
        1. หาสิ่งที่ต้องการทราบ
        2. ว่างแผนการแก้ปัญหา
        3. ค้นหาคำตอบ
        4. ตรวจสอบ
         
         จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการ
เรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือน
การแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบ
และสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
          จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น 
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน
ในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้
เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้น
จะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
          การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่อง
ของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร 
ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการ
ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุม
การทำงาน
          การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง 
ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง 
โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง
ต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย 
โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกัน
ในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน 
การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิด
ความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
          การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
         ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย 

การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น



     

หลังจากที่เพื่อนๆแนะนำเสร็จอาจจารยืก็ได้ให้พวกเรานำเสนอแผนการสอนเเละเนื้อหาในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆแต่ล่ะวัน โดยแบ่งเป็นดังนี้

วันจันทร์   - ประเภท/ชนิด


วันอังคาร  - ลักษณะ
วันพุธ        - การดูแลรักษา
วันพฤหัสบดี   - ประโยชน์
วันศุกร์     - ข้อควรระวัง


 ต่อมาอาจารย์ก็ให้พวกเราวางแผนกันว่าเราจะสอนอะไรให้กับเด็กโดยกลุ่มเราได้ในหัวข้อของ ประเภท
พวกเราได้ทำยานพาหนะ โดยมีการ แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท 1.ทางบก 2.ทางอากาศ 3.ทางน้ำ

ทักษที่ได้รับ

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้เหตุผล 
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการเขียน
  • ทักษะการเชื่อมโยง
การนำความรู้มาใช้
   สามารถนำเเนวคิดของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำมาปรับใช้ได้ในเวลาเราออกสอน เเละข้อเสนอเเนะของอาจารย์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองให้มากที่สุด

เทคนิคของอาจารย์

  อาจารย์มีเทคนิคในการสอนได้ดีมากโดยให้นักศึกษาได้เสนอความคิดของตนเองภายในกลุ่มและได้แลกเปลี่ยนหัวคิดของแต่ละกลุ่ม โดยถ้าอันไหนนักศึกษาทำได้ดีอยู่เเล้วอาจารย์ก็จะบอกว่าโอเค เเต่ถ้าส่วนไหนที่จะต้องมีการแก้ไขอาจารย์ก็แนะนำสิ่งที่ดีให้พวกเรานำไปปรับปรุงแก้ไขให้งานของตนเองดีขึ้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจเรียนและช่วยเพื่อนๆภายในกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเเละยอมรับฟังความคิดของเพื่อนๆภายในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆทุกคนต่างตั้งใจช่วยกนคิดระดมความคิดของแต่ละกลุ่มอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความตรงต่อเวลาในการเข้าสอน และมีวิธีการอย่างที่ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่าย และมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วัน พุธ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2559



บรรยากาศและสาระ

   วันนี้อาจารย์ค่อยข้างที่จะยุ่งกับการที่ต้องย้ายของจากตึกคณะไปตึก 4 แต่อาจารย์ก็ได้เเบ่งเวลาในการที่จะขนย้ายของมาสอนพวกเรา วันนี้อาจารย์ได้ตรวยงานของงานที่ได้สั่งมอบหมายไปในสัปดาห์ที่แล้วและให้ข้อเเนะนำให้พวกเราแต่ล่ะกลุ่มไปปรับปรุงแก้ไขเเละได้สั่งงานในสัปดาห์ต่อไป


ทักษะที่ได้รับ
  •   ทักษะคณิตศาสตร์
  •  ทักษะการจำ
  •   ทักษะการฟัง
  •   ทักษะการใช้ภาษา
  •   ทักษะการแก้ปัญหา
  •   ทักษะกการออกแบบ
  •   ทักษะการวิเเคาระห์
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำเทคการเขียนมายแมบที่ถูกต้องมาปรับใช้กับตนเองและการแตกมายเเมบที่ถูกเพื่อให้มายแมบได้ถูกองค์ประกอบ

ทคนิคการสอนของอาจารย์

     อาจารย์มีการยกตัวอย่างให้พวกเราเข้าใจได้ง่ายและมีข้อแนะนำที่ดีให้พวกเรานำไปปรับใช้

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์พอสมควรและคอยช่วยเพื่อนๆตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆทุกคนน่ารักตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี และช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์น่ารักและคอยถามนักศึกษาว่าไม่เข้าใจตรงไหนก็ให้เราถาม และมีข้อแนะนำที่ดีให้แก่นักศึกษาทุกครั้ง



วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วัน พุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2559



สาระและบรรยากาศในห้องเรียน
 
    วันนี้อาจารย์ได้ถามถึงการที่เราได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวม์ศ ว่าที่โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง และมีสื่อ อุปกรณ์อะไรที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง

  ในการเรียนเรียนการสอนของทางโรงเรียนจะมีการเรียนแบบ  นำวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาธรรมชาติ การสอนแบบโปรเจค  การสอนแบบวอลดอร์ฟมารวมกัน และสอดแทรกคำถาม  ทักษะกระบวนการคิด และประสบการณ์สำคัญของเด็ก นอกจากนี้ก็ยังมีการนำสาระการเรียนทั้ง 6 สาระมาบูรณราการในการสอน

  •    สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  •    สาระที่ 2 การวัด
  •    สาระที่ 3 เลขาคณิต
  •    สาระที่ 4 พีชคณิต
  •    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ความน่าจะเป็น
  •    สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสาตร์
 จากนั้นเป็นการนำเสนองานของเพื่อน

1.สรุปวิด๊โอของนางสาวภทรธร รัชนิพนธ์ 

สรุป - กล่าวถึงครูที่อยู่โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตุการณ์เด็กๆและจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร

       ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิต ประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์
       ของนักเรี­ยน
                 ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื­่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย

สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย

2.นางสาวจิราภาณ ฟักเขียว


โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียน รู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับ ประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่ แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือ ต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น 

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและ ได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะ เล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็ก กล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำ นิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้น แตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่าง ลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย 

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้ เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมด ห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีก ด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมาก น้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่ เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่ หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยว ม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้ รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดง ของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะ สามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกัน ทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่ น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไป ช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายัง ไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดี หลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น



การนำเสนอวิจัย
        ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้
-ความมุ่งหมายของวิจัย
เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
-ขอบเขตการวิจัย
นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง
-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สรุปผลวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้ หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนทัศน์ ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
-สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ ศิลปะค้นหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ

1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้ร
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก

หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็แจกกระดาษให้พวกเราทำมายแม๊พโดยใก้กำหนดหัวข้อในการสอนมา โดยฉันจะสอนเรื่อง สัตว์บกกับสัตว์น้ำ



ทักษะที่ได้
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการวางแผน
  • ทักษะการเขียนมายแม๊พ
การนำความรู้ไปใช้

 เราสารถนำความรู้ที่อาจารย์ได้บอกถึงการกำหนดหัวข้อในการสอนเด็กมาปรับปรุงตรงในส่วนที่เรายังผิดพลาดอยู่เพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและตัวเด็กในอนาคต

เทคนิคของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคที่น่าสนใจในการสอนมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้แบบชัดเจน
การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจพอสมควรอาจจะมีช่วงที่ไม่สนใจบ้างแต่ก็พยายามดึงตัวเองกลับมาให้เรียนที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆอาจจะมีบ้างช่วงที่คุยกันเสียงดังบ้างหรือไม่ตั้งใจบ้าง แต่เพื่อนๆก็สามารถดึงตัวเองให้กลับมามีสมาธิในการเรียนอีกครั้ง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งที่อาจารย์ถาม อาจจะมีผิด มีถูกบ้าง และเพลงๆก็ยังช่วยกันร้องเพลงอาจจะไม่ตรงคีย์ แตก็สร้างเสียงหัวเราะภายในห้องได้

ประเมินอาจารย์ - วันนี้อาจารย์มาตรงเวลาสอน เเต่งตัวสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน