บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วัน พุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
บรรยากาศและสาระ
วันนี้อาจารย์ให้พวกเราเขียนชื่อใหม่แล้วนำไปติดในช่องตารางว่าเราตื่นตอนไหน แต่สำหรับเด็ฏปฐมวัยต้องใช้เป็นแบบบันทึกจากผู้ปกครองพอเช้ามาโรงเรียนก็ให้เด็กนำชื่อของตัวเองมาติดตามเวลาที่เด็กตื่น
ตัวอย่างตาราง
การเรียนเรื่องเวลาจะยากสำหรับเด็ก การสอนให้เด็กก็ควรทำเป็นเวลาก่อนหลังเด็กจะสามารถรู้ได้ว่าตัวเองตื่นนอนกี่โมงโดยครูทำตาราง 3 ช่องไว้ให้เด็กนำมาติด ในประสบการณ์เด็กจะได้เห็นตัวเลขที่หลากหลายและเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ การนับจำนวนคนที่ตื่นก่อน 7 โมงหรือหลัง 7 โมง ถ้าเด็กยังไม่สามารถเขียนตัวเลขได้เราสามารถจะให้เด็กเรียนรู้จากภาพโดยให้เด็กนำตัวเลขมาวาง จากนั้นก็ให้นับว่ามีคนมาก่อน 7 โมงกี่คนและหลัง 7 โมงกี่คน จากนั้นก็ให้นำมารวมกันเด็กจะสามารถทราบได้โดยที่ยังไม่เรียนการบวกมาก่อน
ต่อมาเป็นการนำเสนอ บทความของเลขที่ 7 วิจัยของเลขที่ 8 วีดีโอของเลขที่ 9
แต่ด้วยเนื้อหาของเพื่อนอธิบายไม่เข้าใจเพื่อนๆเลยขอโอกาสจากอาจารย์มานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป
- แนวทางในการแก้ไขปัญหาถ้าเราเกิดการผิดพลาดกับการนำเสนอเนื้อหาแล้วมีข้อติจากอาจารย์ อาจารย์ผู้สอนเราไม่ควรจะแก้ตัวให้เราพูดกับอาจารย์ว่าขอโอกาสมานำเสนอใหม่ค่ะเพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับตัวเราเองและเวลานำเสนอน้าชั้นเรียนเราควรยืนให้สง่า
จากนั้นอาจารย์ก็สอนให้พวกเราร้องเพลง มาดูสิวันนี้ร้องเพลงอะไรกันไปบ้าง
เพลงเเรก จับปู
เพลงเเรก จับปู
เพลง นกกระจิบ
เพลง นับนิ้วมือ
เพลง แม่ไก่ออกไข่
เพลง ลูกแมวสิบตัว
เพลง บวก ลบ
จากเพลงนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราได้ช่วยกันดัดเเปลงเนื้อเพลงให้ในแต่ละแถวช่วยกันมาดูกันว่าแถวเราคิดออกมาได้แบบไหน
บ้านฉันเลี้ยงควายหกตัว ลุงให้อีกสี่ตัวนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูสิเธอรวมกันได้สิบตัว
บ้านฉันเลี้ยงควายสิบตัว หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาเเล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงเจ็ดตัว
พอเราร้องเพลงกันเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนคำคล้องจ้อง
กลอนหนึ่ง สอง
หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะเเล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้อง โอยโอย
- เพลงคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด๋กๆมีความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์เด็กจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการเรียนเเละเป็นการสอดแทรกคณิตศาสตร์ไปภายในตัวจะทำให้เด็กเรียนแล้วไม่รู้สึกเบื่อวิชาคณิตศาสตร์
จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาต่อ เกี่ยวกับลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
- เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาควาใคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- แนะนำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั้นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง
หลังจากนั้นตัวแทนของแต่ละกลุ่มก็ออกไปเสนองานประดิษฐ์เพื่อที่จะให้อาจารย์ช่วยแก้ไขผลงานของแต่ละกลุ่มแล้วให้พวกเราเขียนว่าพวกเราต้องใช้อุปการณ์อะไรบ้างในการประดิษฐ์เพื่อที่อาจารย์จะได้สั่งของมาให้พวกเรา
ทักษะที่ได้
- การนับจำนวน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการร้องเพลง
- ทักษะการเขียนสรุป
- ทักษะการฟัง การพูด
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาทำตารางในการให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตรืในเรื่องของเวลาได้โดยการให้เด็กดูเวลาที่ตื่นนอน เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้จากการใช้ภาพแทนการเขียนหรือถ้าเด็กโตที่สามารถเริ่มที่จะเขียนได้ก็ให้เด็กได้เขียนตามรอยปะ
ได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่น่าสนใจ อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจได้ง่ายมีข้อคิดดีๆคำสอนดีๆให้พวกเราได้นำไปปรับใช้กับตัวเอง
การประเมิน
ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจพอสมควรอาจจะมีช่วงที่ไม่สนใจบ้างแต่ก็พยายามดึงตัวเองกลับมาให้เรียนที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหา
ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆอาจจะมีบ้างช่วงที่คุยกันเสียงดังบ้างหรือไม่ตั้งใจบ้าง แต่เพื่อนๆก็สามารถดึงตัวเองให้กลับมามีสมาธิในการเรียนอีกครั้ง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งที่อาจารย์ถาม อาจจะมีผิด มีถูกบ้าง และเพลงๆก็ยังช่วยกันร้องเพลงอาจจะไม่ตรงคีย์ แตก็สร้างเสียงหัวเราะภายในห้องได้
ประเมินอาจารย์ - วันนี้อาจารย์มาตรงเวลาสอน เเต่งตัวสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น