ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว บงกช เพ่งหารัพย์ คะ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559





บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


วัน พุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.

บรรยากาศในห้องเรียนเเละสาระ

  วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาให้พวกเราได้ทำกันคือ การสร้าง โมเดลจากไม้และดินน้ำมัน โมเดลของพวกเราที่ได้ทำกันเป็นโมเดลรูปเลขาคณิตและรูปทรงเลขาคณิต โดยคำสั่งแรกเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี2มิติ มาดูฝีมือการทำดีกว่า >,<



จากนั้นก็เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ให้เราทำเป็นสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ พอทำกันเสร็จอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ทำสามเหลี่ยมที่มีรูปแบบต่างจากคนอื่นไปโชว์หน้าห้อง


ผลงานตัวเอง




ผลการเพื่อนๆ




  • อาจารย์บอกว่า เวลาที่เราจะสอนเด็กเราต้องให้เด็กได้คิดเอง ทำเอง และออกแบบเองจากประสบการณ์เดิมของจตัวเด็กเองโดยใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และทักษะภาษา
  • โดยขั้นตอนการสร้างโมเดลมีขั้นตอนดังภาพ





ต่อมาเป็นรูปสี่เหลี่ยม



แล้วก็รูปทรงสี่เหลี่ยมแต่ครั้งนี้อาจารย์ให้จับคู่กันมาดูผลงานของคู่เรากัน ^^






การที่เราทำเป็นรูปทรงจะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่ารูปทรงแต่ละรูปทรงจะมีกี่ด้านเช่น รูปทรงสี่เหลี่ยมมีทั้งหมดกี่ด้านเราจะสามารถนำกระดาษมาปิดตามช่องของโมเดลโดยใช้กระดาษทั้งหมด 6 แผ่น เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองอัตโนมัติ

  • การตั้งคำถามของครูควรเป็นคำถามที่กว้างๆเพื่อที่เด็กจะได้คิดไดหลายแบบ

ต่อมาเป็นการนำเสนอบทความโดยเเลขที่ 13

สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์ 
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง
วิจัยเลขที่14 นำเสนอใหม่ในสัปดาห์หน้า่
โทรทัศน์ครู เลขที่15 นำเสนอใหม่สัปดาห์หน้า


  • สรุปใบงานความรู้



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการใช้ภาษาในการนำเสนองาน
  • ทักษะการคิด การวางแผน การแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกแบบโมเดล
  • ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
  • ทักษะการสรุปเนื้อหาสาระที่เรียน
การนำไปประยุกต์ใช้

  เราสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำโมเดลนำมาปรับใช้กับเด็กได้โดยจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็กได้ลงมือปฎิบัติทำโมเดลด้วยตนเองเด็กจะได้เรียนเกี่ยวกับเรขาคณิตได้ง่ายเเล้วเกิดความเข้าใจ

เทคนิคของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนได้น่าสนใจเเละมีจุดเด่นเป็นของอาจารย์เองโดยส่วนมากกิจกรรมที่อาจารย์ให้เราได้ทำนั้นจะเป็นการให้เราได้ลงมือปฎิบัติแล้วได้ใช้ความคิดของตัวเอง

กระประเมิน
ปรัเมินตนเอง - วันนี้มีความตั้งใจเรียนมาก เข้าใจกับเนื้อหาสาระที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันมาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสองานของตัวเองโดยไม่คุยกัน มีความรับผิดชอบดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความทรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคในการสนที่น่าสนใจและสนุก

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


วัน พุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
ขาดเรียน

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559





 บันทึกการเรียนครั้งที่  5

วัน พุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

บรรยากาศและสาระ

วันนี้อาจารย์ให้พวกเราเขียนชื่อใหม่แล้วนำไปติดในช่องตารางว่าเราตื่นตอนไหน แต่สำหรับเด็ฏปฐมวัยต้องใช้เป็นแบบบันทึกจากผู้ปกครองพอเช้ามาโรงเรียนก็ให้เด็กนำชื่อของตัวเองมาติดตามเวลาที่เด็กตื่น


ตัวอย่างตาราง






          การเรียนเรื่องเวลาจะยากสำหรับเด็ก การสอนให้เด็กก็ควรทำเป็นเวลาก่อนหลังเด็กจะสามารถรู้ได้ว่าตัวเองตื่นนอนกี่โมงโดยครูทำตาราง 3 ช่องไว้ให้เด็กนำมาติด ในประสบการณ์เด็กจะได้เห็นตัวเลขที่หลากหลายและเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ การนับจำนวนคนที่ตื่นก่อน 7 โมงหรือหลัง 7 โมง ถ้าเด็กยังไม่สามารถเขียนตัวเลขได้เราสามารถจะให้เด็กเรียนรู้จากภาพโดยให้เด็กนำตัวเลขมาวาง จากนั้นก็ให้นับว่ามีคนมาก่อน 7 โมงกี่คนและหลัง 7 โมงกี่คน จากนั้นก็ให้นำมารวมกันเด็กจะสามารถทราบได้โดยที่ยังไม่เรียนการบวกมาก่อน


          ต่อมาเป็นการนำเสนอ บทความของเลขที่ 7 วิจัยของเลขที่ 8 วีดีโอของเลขที่ 9
แต่ด้วยเนื้อหาของเพื่อนอธิบายไม่เข้าใจเพื่อนๆเลยขอโอกาสจากอาจารย์มานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

  • แนวทางในการแก้ไขปัญหาถ้าเราเกิดการผิดพลาดกับการนำเสนอเนื้อหาแล้วมีข้อติจากอาจารย์ อาจารย์ผู้สอนเราไม่ควรจะแก้ตัวให้เราพูดกับอาจารย์ว่าขอโอกาสมานำเสนอใหม่ค่ะเพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับตัวเราเองและเวลานำเสนอน้าชั้นเรียนเราควรยืนให้สง่า 
          จากนั้นอาจารย์ก็สอนให้พวกเราร้องเพลง มาดูสิวันนี้ร้องเพลงอะไรกันไปบ้าง

เพลงเเรก จับปู


เพลง นกกระจิบ



เพลง นับนิ้วมือ




เพลง แม่ไก่ออกไข่


เพลง ลูกแมวสิบตัว




เพลง บวก ลบ 



จากเพลงนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราได้ช่วยกันดัดเเปลงเนื้อเพลงให้ในแต่ละแถวช่วยกันมาดูกันว่าแถวเราคิดออกมาได้แบบไหน


       บ้านฉันเลี้ยงควายหกตัว      ลุงให้อีกสี่ตัวนะเธอ
            มารวมกันนับดีดีซิเออ            ดูสิเธอรวมกันได้สิบตัว  
         บ้านฉันเลี้ยงควายสิบตัว       หายไปสามตัวนะเธอ   
                                  ฉันหาเเล้วไม่เจอ                   ดูซิเออเหลือเพียงเจ็ดตัว                      

พอเราร้องเพลงกันเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนคำคล้องจ้อง

กลอนหนึ่ง สอง

หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะเเล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้อง โอยโอย


  • เพลงคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด๋กๆมีความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์เด็กจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการเรียนเเละเป็นการสอดแทรกคณิตศาสตร์ไปภายในตัวจะทำให้เด็กเรียนแล้วไม่รู้สึกเบื่อวิชาคณิตศาสตร์
จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาต่อ เกี่ยวกับลักษณะหลักสูตรที่ดี

มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
  1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาควาใคิดรวบยอด
  2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  3. แนะนำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั้นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
  5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
  6. เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

หลังจากนั้นตัวแทนของแต่ละกลุ่มก็ออกไปเสนองานประดิษฐ์เพื่อที่จะให้อาจารย์ช่วยแก้ไขผลงานของแต่ละกลุ่มแล้วให้พวกเราเขียนว่าพวกเราต้องใช้อุปการณ์อะไรบ้างในการประดิษฐ์เพื่อที่อาจารย์จะได้สั่งของมาให้พวกเรา

ทักษะที่ได้
  • การนับจำนวน
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการร้องเพลง
  • ทักษะการเขียนสรุป
  • ทักษะการฟัง การพูด
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

     เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาทำตารางในการให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตรืในเรื่องของเวลาได้โดยการให้เด็กดูเวลาที่ตื่นนอน เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้จากการใช้ภาพแทนการเขียนหรือถ้าเด็กโตที่สามารถเริ่มที่จะเขียนได้ก็ให้เด็กได้เขียนตามรอยปะ
ได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่น่าสนใจ อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจได้ง่ายมีข้อคิดดีๆคำสอนดีๆให้พวกเราได้นำไปปรับใช้กับตัวเอง

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจพอสมควรอาจจะมีช่วงที่ไม่สนใจบ้างแต่ก็พยายามดึงตัวเองกลับมาให้เรียนที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆอาจจะมีบ้างช่วงที่คุยกันเสียงดังบ้างหรือไม่ตั้งใจบ้าง แต่เพื่อนๆก็สามารถดึงตัวเองให้กลับมามีสมาธิในการเรียนอีกครั้ง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามทุกครั้งที่อาจารย์ถาม อาจจะมีผิด มีถูกบ้าง และเพลงๆก็ยังช่วยกันร้องเพลงอาจจะไม่ตรงคีย์ แตก็สร้างเสียงหัวเราะภายในห้องได้

ประเมินอาจารย์ - วันนี้อาจารย์มาตรงเวลาสอน เเต่งตัวสุภาพ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน